613181105-การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน
-=== อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบ ===-
เนื้อหาในที่นี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ปีงบประมาณ 2561 (คูปองครู) และยังใช้เป็นแหล่งทบทวนเนื้อหาเมื่อคุณครูผ่านการอบรมไปแล้ว
ชื่อหลักสูตร:การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน
(Mobile Application development to promote teacher competency in Active Learning for develop 21st skills of learner)
รหัสหลักสูตร: 613181105
ประเภทหลักสูตร: หลักสูตรปกติ
ความลุ่มลึก: ระดับพื้นฐาน
จำนวนชั่วโมง: 12
สาระเนื้อหา: บูรณาการสาระ
ชื่อหน่วยพัฒนา: บริษัท เรียลไอที (ประเทศไทย) จำกัด
รหัสหน่วยพัฒนา: 0835555012007
Email: n60pairochju@kurupatana.ac.th
หมายเหตุ:
บริษัท เรียลไอที (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหน่วยพัฒนาครูที่ผ่านการรับรองจาก สถาบันคุรุพัฒนา
และหลักสูตร 613181105 ก็เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองแล้วเช่นกัน
(https://course.kurupatana.ac.th/?pri_menu=course&course_code=613181105)
สะท้อนผลจากผู้เข้าอบรม
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดขอนแก่น วันที่ 27-28 กรกฏาคม 2561
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 29-30 กรกฏาคม 2561
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 4-5 สิงหาคม 2561
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 12-13 สิงหาคม 2561
หลักการและที่มาของหลักสูตร
ในยุคที่เทคโนโลยีสามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนจึงต้องปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจึงควรสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนบนมือถือได้เอง โดยใช้ระบบที่ง่าย ไม่ซับซ้อน กิจกรรมการฝึกอบรมเป็นแบบ Active training ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ลงมือปฏิบัติจริง พร้อมทั้งออกแบบบและวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning กับผู้เรียน และเพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน
ในการอบรมในครั้งนี้จึงใช้ Google Sheet, Google Form, Google Applications และ Appsheet ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ง่ายและสามารถนำไปใช้งานได้จริง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ผู้เรียน นักเรียนได้เรียนเพื่อเป็นผู้สร้างนวัตกรรม (Learner as Creator) สามารถสร้างแอปพลิเคชัน เพื่อใช้งานจริงได้ และบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสร้างนวัตกรรมหรือนำไปแก้ไขปัญหาของตนเอง สังคม หรือชุมชน เกิดการทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ
- Critical Thinking & Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
- Creativity & Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม)
- Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
- Collaboration, Teamwork & Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ) - Communications, Information & Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ)
- Computing & ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
- Career & Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
กิจกรรมการฝึกอบรมเป็นการพัฒนาสมรรถนะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยมีการหลอมรวมเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับการสอนเนื้อหาสาระเฉพาะ (Technology Pedagogical Content Knowledge : TPCK) คือกระบวนการบูรณาการ 3 ส่วน ได้แก่
- ความรู้ด้านเนื้อหา (Content Knowledge) CK คือ เนื้อหาสาระ ข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับเนื้อหาการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียน
- ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Pedagogical Knowledge) คือ นำความรู้ที่ได้ศีกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ มาออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วัดการประเมินผลซึ่งเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกเกี่ยวกับ กระบวนการและการปฏิบัติหรือวิธีการสอน
- ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Technological Knowledge) คือ ความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สื่ออุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ประกอบการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาการและผู้เรียน โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือและนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตารางการจัดกิจกรรม
วันที่ 1 ของการอบรม
เวลา | รายละเอียด | หมายเหตุ |
08.00-08.30น. | ลงทะเบียน | |
08.30-09.00น. | พิธีเปิด | ทีมวิทยากร |
09.00-10.30น. | หลักการออกแบบสื่อการเรียนการสอน แบบ Active Learning | ทีมวิทยากร |
10.30-10.45น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
10.45-12.00น. | เรียนรู้โครงสร้างโปรแกรม Appsheet ขั้นพื้นฐานการสร้าง การจัดการและการนำเข้าฐานข้อมูล | ทีมวิทยากร |
12.00-13.00น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00-14.30น. | เรียนรู้เมนู UX , ViewType ประเภทต่างๆ deck, table , gallery, detail, map, chart, dashboardเรียนรู้คำสั่ง Behavior การปรับแต่งเมนูแสดงผล | ทีมวิทยากร |
14.30-14.45น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
14.45-15.30น. | การทำงานของ Security, User, Manage | ทีมวิทยากร |
15.30-17.00น. | การติดตั้ง Appsheet ลงบนมือถือบนระบบ Andriod , iOS | ทีมวิทยากร |
วันที่ 2 ของการอบรม
เวลา | รายละเอียด | หมายเหตุ |
08.00-10.30น. | Workshop สร้างสื่อ ตามตัวอย่าง | |
10.30-10.45น. | พักรับประทานอาหารว่าง | ทีมวิทยากร |
10.45-12.00น. | Workshop สร้างสื่อ ตามตัวอย่าง | ทีมวิทยากร |
12.00-13.00น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00-14.30น. | การบริหารจัดการแอป Deploy Application และการเผยแพร่ผลงาน | ทีมวิทยากร |
14.30-14.45น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
14.45-16.00น. | การนำ Appsheet เข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน Active Learning และการนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการผู้เรียน ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ภาพฉายอนาคต (scenarios)· ระดมความคิดเห็น (PLC) สร้างภาพฉายอนาคต (scenarios) การนำความรู้ไปใช้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนในอีก 10-15 ปีข้างหน้า ออกแบบห้องเรียนแห่งอนาคต นำเสนอ ผลงาน Gallery walk
· เดินชมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Gallery Walk ) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ผ่าน padlet · Chat Show Share ผ่านเครือข่ายออนไลน์ · นำเข้าสู่กิจกรรมแบบการอบรมแบบผสมผสาน (Blended Training) แบบไม่เผชิญหน้า (Online training) |
ทีมวิทยากร |
16.00-16.40น. | นำเสนอผลงาน | |
16.40-17.00น. | พิธีปิด/มอบเกียรติบัตร | ทีมวิทยากร |
Course Features
- Lectures 0
- Quizzes 0
- Duration 12 hours
- Skill level All levels
- Language Thai
- Students 273
- Assessments Yes