614181009-การฝึกอบรมปฏิบัติการ ระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT) Smart Farm เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา (STEM Education) ตอบสนอง Thailand 4.0
-=== อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบ ===-
(เนื้อหาเว็บไซต์เดิม http://realitlimited.com:58008/wp/)
เนื้อหาในที่นี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้ระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ปีงบประมาณ 2561 (คูปองครู) และยังใช้เป็นแหล่งทบทวนเนื้อหาเมื่อคุณครูผ่านการอบรมไปแล้ว
ชื่อหลักสูตร: การฝึกอบรมปฏิบัติการ ระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT) Smart Farm เพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา (STEM Education) ตอบสนอง Thailand 4.0
รหัสหลักสูตร: 614181009
ประเภทหลักสูตร: หลักสูตรปกติ
ความลุ่มลึก: ระดับพื้นฐาน
จำนวนชั่วโมง: 14
สาระเนื้อหา: บูรณาการสาระ
ชื่อหน่วยพัฒนา: บริษัท เรียลไอที (ประเทศไทย) จำกัด
รหัสหน่วยพัฒนา: 0835555012007
Email: n60pairochju@kurupatana.ac.th
หมายเหตุ:
บริษัท เรียลไอที (ประเทศไทย) จำกัด เป็นหน่วยพัฒนาครูที่ผ่านการรับรองจาก สถาบันคุรุพัฒนา
และหลักสูตร 614181009นี้ ก็เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองแล้วเช่นกัน
(https://course.kurupatana.ac.th/?pri_menu=course&course_code=614181009)
ภาพบรรยากาศการอบรมในรุ่นต่างๆ
สะท้อนผลจากผู้เข้าอบรม
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดร้อยเอ็ด
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดสกลนคร
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดนครราชสีมา
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดศรีสะเกษ
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดเชียงใหม่
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดนครปฐม
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดกรุงเทพ
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดเพชรบูรณ์
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดระยอง
- สะท้อนผล ณ จุดอบรม จังหวัดกระบี่
อุปกรณ์ที่ในการอบรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพื่อให้เกิดทักษะ และสัมผัสการทำงานจริง ดังนั้นเราจึงได้ออกแบบและผลิต บอร์ดทดลองเพื่อการเรียนรู้เรื่องดิจิทัล สำหรับผู้เริ่มต้น โดยบอร์ดจะไม่มีความซับซ้อนมาก เน้นเรียบง่ายต่อการเรียนรู้และเข้ากับเนื้อหาที่เรียบเรียงไว้โดยคำนึงถึงผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ให้สามารถเรียนรู้ได้
ออกแบบและสร้างสรรโดย Roiet.io Workshop Studio ห้องปฏิบัติการทางดิจิทัล บริษัท เรียลไอที (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งคุณครูที่เข้าอบรมจะได้รับอุปกรณ์ต่างๆ กลับไปด้วยท่านละ 1 ชุด
หลักการและที่มาของหลักสูตร
สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาโดยเน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นการสะท้อนกระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป จากกระบวนการเรียนการสอนแบบท่องจำ เป็นการพัฒนาด้านปัญญา ทักษะการคิด การแก้ปัญหาโดยเน้นกระบวนการปฏิบัติเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงกระบวนการผลิตนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และต่อประเทศชาติ สะเต็มศึกษาจึงเป็นแนวทางจัดการศึกษาที่ถูกนำมาใช้เป็นแนวการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษายังเกิดปัญหาในเรื่องของ วิธีสอน แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้นครูจำเป็นต้องมีความรู้มีทักษะในด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนทั้งนี้เพราะผู้เรียนต้องการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสถานการณ์การเรียนรู้ที่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดการเรียนรู้หรืออำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูจึงเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งในคุณภาพของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพของครูมีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูที่มีความรู้ ความสามารถ ครูที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้ดีกว่า
IoT (Internet of Things) คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆเช่น โทรศัพท์มือถืออุปกรณ์ไร้สาย รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์ ระบบแสงสว่าง และอื่น ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยอุปกรณ์เหล่านั้นจะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ควบคุมและสั่งการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยสรรพสิ่งต่าง ๆ สามารถระบุตัวตนได้ รับรู้บริบทของสภาพแวดล้อมได้ และมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบและทำงานร่วมกันได้ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่อีกมากมายในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามยังมีเทคโนโลยี อื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องถูกพัฒนาไปควบคู่กัน IoT เช่น ระบบตรวจจับต่าง ๆ (Sensors ) ระบบ Smart Farm รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และระบบคอมพิวเตอร์สมองกลฝังตัว (Embedded System)
การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษามีลักษณะเฉพาะจึงจำเป็นต้องการฝึกฝนครูเฉพาะทางและพัฒนาวิชาชีพครูไปสู่ครูคุณภาพสูง เพื่อเป็นหลักประกันว่านักเรียนจะได้รับประสบการณ์การเรียนและการทำงานทางเกี่ยวกับทางด้านสะเต็มศึกษา หากครูได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมแล้วจะทำให้ครูมีกระบวนการที่มีการวางแผนดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความรู้ ทักษะ ความคิด ทัศนคติและความสามารถสามารถปฏิบัติงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ มีความสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะกระบวนการดังกล่าว ครูผู้สอนจำเป็นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติจริงอันจะส่งผลให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถต่อไป ซึ่งจะช่วยผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ให้เกิดผลอย่างยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ด้านความรู้ (Knowledge)
- เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT)
- ด้านทักษะ (Skill)
- เพื่อให้ครูสามารถออกแบบและสร้างชิ้นงานด้วยระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT) ได้
- ด้านความเป็นครู (Attribute)
- เพื่อให้ครูสามารถนำระบบสมองกลผังตัว ด้วยไอโอที (IoT) ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน บูรณาการสะเต็มศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จของการเรียนรู้ของครู
- ครูมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT)
- ครูมีชิ้นงานด้วยระบบสมองกลฝังตัว ด้วยไอโอที (IoT) ทุกคน
- ครูสามารถนำระบบสมองกลผังตัว ด้วยไอโอที (IoT) ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา
- ครูมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
สังเขปหัวข้อเนื้อหาสาระ
- กลุ่มเนื้อหาที่เป็นสาระวิชาด้าน (Content)
- คว ามรู้เกี่ยวกับ ระบบสมองกลฝังตัว ไอโอที (IoT)หรือระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of things) ระบบฟาร์มอัจฉริยะ(Smart farm) และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา
- กลุ่มเนื้อหาสาระที่เป็นศาสตร์ทางวิชาชีพครู (Pedagogy)
- การสอนแบบบูรณาการสะเต็มศึกษา โดยการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะของครู เพื่อนำไปสอนบูรณาการสะเต็มศึกษา โดยเน้นการเรียนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักเรียนจะสำรวจสภาพปัญหา หรือ ออกแบบความคิดสร้างสรรค์ และนำไปสร้างนวัตกรรมที่สามารถใช้งานได้จริง เมื่อสิ้นสุดกระบวนการเรียนการสอนจะได้ผลผลิตเป็นนวัตกรรม ที่ออกแบบโดยผู้เรียน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา สามารถนำไปถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ทักษะและคุณลักษณะที่ได้จากการอบรมสู่ห้องเรียน สู่นักเรียน เป็นการเปลี่ยนรูปแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ้งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Learner as Creater) ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของผู้เรียน
- กลุ่มบูรณาการเนื้อหาสาระกับศาสตร์วิชาชีพครู และ/หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ (PCK หรือ TPCK)
- กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะ โดยการใช้เทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว ร่วมกับเซนเซอร์อื่น ออกแบบด้วยกระบวนการเชิงระบบ บูรณาการเนื้อหาการสอนระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ กับบริบททางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนักเรียนจะต้องมีองค์ความรู้ด้านต่างๆ และมีลำดับขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ มีความยืดหยุ่น นักเรียนสามารถปรับให้เข้ากับสภาพปัญหา หรือความต้องการ ที่คิดสร้างสรรค์งาน ซึ่งการออกแบบและพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ระบบฟาร์มอัจฉริยะ(Smart farm) เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างเทคโนโลยีขึ้นอีกรอบให้ผู้เรียนเปลี่ยนเป็นผู้สร้าง (Learner as Creater) ตามนโยบาย Thailand 4.0
การจัดกิจกรรมอบรมเป็นการอบรมแบบผสมผสาน(Blended Training) ใช้ทั้งแบบการอบรมแบบเผชิญหน้า ( Face to Face ) และแบบไม่เผชิญหน้า (Online training) ซึ่งการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า ( Face to Face ) ใช้สำหรับการอบรมที่ต้องมีการลงมือปฏิบัติและฝึกทักษะ ส่วนการอบรมแบบแบบไม่เผชิญหน้า (Online training) เป็นการอบรมเพื่อขยายของเขตของการเรียนรู้ให้กว้างกว่าเดิม และขยายด้านเวลาลดข้อจำกัดด้านเวลา ให้สามารถ ติดตาม สนับสนุนการอบรมได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างแหล่งชุมชนออนไลน์ เช่น Facebook Group หรือ Line Group หรือ Online Classroom หรือ หน้าเว็บไซต์
Course Features
- Lectures 9
- Quizzes 0
- Duration 14 hours
- Skill level All levels
- Language Thai
- Students 730
- Assessments Yes
-
(1) ระบบสมองกลฝังตัว และกระบวนการเชิงระบบ
-
(2) Internet of Things for beginner
-
(3) Devices & Software
-
(4) Digital และ Analog
-
Old website http://realitlimited.com:58008/wp/
-
LAB Code